ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ภัยร้ายใกล้ตัว
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest)
โรคหัวใจเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของคนในประเทศไทยอันดับ 3 รองจากโรคมะเร็ง ซึ่งโรคหัวใจมีหลายประเภท แต่หนึ่งในโรคหัวใจที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้าก็คือ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน
"ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันคือ ?"
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน (Sudden Cardiac Arrest) คือ ภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ จนกระทั่งไม่มีการบีบตัว และนำไปสู่การหยุดเต้นโดยทันที ซึ่งภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันไม่มีสัญญาณ หรืออาการเตือนล่วงหน้า สามารถเกิดได้กับทุกช่วงอายุ และสามารถเกิดขึ้นได้ทุกสถานที่ ทุกช่วงเวลา ซึ่งเมื่อหัวใจหยุดเต้นจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดหยุดไม่สามารถลำเลียงเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ ส่งผลให้อวัยวะต่างๆทำงานผิดปกติโดยเฉพาะ “สมอง” เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้หมดสติ และหากสมองขาดเลือดนานเกิด 4 นาที อาจเกิดภาวะ “สมองตาย” ได้ ดังนั้น เมื่อพบเจอผู้ที่หมดสติ ไม่หายใจ หัวใจหยุดเต้นต้องรีบเข้าช่วยเหลือให้ทันภายใน 4 นาที เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วย
"สาเหตุของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน"
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากหัวใจเต้นผิดปกติ (Cardiac Arrhythmia) คือ การที่หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ อาจเต้นเร็วหรือช้าเกินไป จนทำให้หัวใจหยุดการบีบตัว ไม่มีการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ ส่งผลทำให้ผู้ป่วยเป็นลม หมดสติ และเสียชีวิตได้ภายในไม่กี่นาที แต่สามารถช่วยเพิ่มโอกาสรอดได้โดยการช็อคด้วยกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automatic External Defibrillators : AED) ซึ่งในปัจจุบันสามารถพบเครื่องมือชนิดนี้ได้ ตามสถานที่สาธารณะที่มีผู้คนพลุกพล่านต่างๆ เช่น สนามบิน, สถานีรถไฟฟ้า, สนามกีฬา, ห้างสรรพสินค้า, ตึกสึกนักงาน, คอนโด เป็นต้น เพื่อคอยบริการยามเกิดสถานะการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันถ่วงที
"การช่วยเหลือในสถานะการณ์ฉุกเฉิน"
สิ่งแรกที่ต้องทำเมื่อเราพบเจอผู้ป่วยหมดสติคือการตั้งสติ และประเมินสถานที่บริเวญผู้ป่วย ต้องไม่อันตรายก่อนที่จะเข้าไปช่วยเหลือตามขั้นตอนง่ายๆดังนี้
- พิจารณาตรวจความปลอดภัยของสถานที่บริเวญรอบๆตัวผู้ป่วย จะต้องปลอดภัย ไม่มีไฟ, ควัน, น้ำมัน, แก๊ซ หรือ พื้นไม่เปียกน้ำ หากปลอดภัย สามารถเข้าไปช่วยเหลือต่อไปได้
- ปลุกเรียกผู้ป่วย โดยการตบที่บ่าของผู้ป่วย และตะโกนเรียกดังๆ 3 ครั้ง "คุณ คุณ คุณ" จำนวน 2 รอบ ดูการตอบสนอง ถ้าไม่มีการตอบสนองให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะหัวใจหยุดเต้นฉับพลัน
- ตะโกนขอความช่วยเหลือ ให้รีบโทรแจ้ง 1669 และนำเครื่อง AED มา
- ตรวจดูการหายใจของผู้ป่วย โดยการสังเกตหน้าอกขยับหรือไม่ หากไม่ขยับ ให้เริ่มทำ CPR ทันที
- ทำ CPR โดยใช้สันมือข้างที่ไม่ถนัด วางบนบริเวญกึ่งกลางกระดูกหน้าอกของผู้ป่วย แล้วนำมืออีกข้างประสาน ยึดไว้ให้แน่น แขนตึงทำมุม 90 องศากับร่างผู้ป่วย ออกแรงกดความลึก 5-6 เซนติเมตร ในอัตราเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที ทำ 2 นาที กรณีที่ไม่ทำการผายปอด แต่หากจะทำการผายปอด จะทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับผายปอด 2 ครั้ง
- เมื่อครบ 2 นาที ให้ตรวจสัญญาณชีพของผู้ป่วย โดยสังเกตจาก ตากระพริบ, ไอ, หน้าอกขยับ หรือ แขนขาขยับ หากผู้ป่วยยังไม่ฟื้นคืนสติ ให้ทำ CPR ต่อไป
- เมื่อเครื่อง AED มาถึง ให้เปิดเครื่อง เพื่อใช้งานทันที โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง เพื่อช่วยกระตุกหัวใจของผู้ป่วยให้กลับมาทำงานเองอีกครั้ง
ซึ่งในปัจจุบันเครื่องกระตุกหัวใจมีแบบอัตโนมัติ ที่ประชาชนสามารถใช้งานได้ หรือที่เรียกว่า เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator : AED) โดยเครื่อง AED แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. Fully Automatic เครื่องทำงาน วิเคราะห์ และปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุกหัวใจอัตโนมัติ
2. Semi Automatic เครื่องจะไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ผู้ใช้งานต้องกดปุ่มเอง
เครื่อง AED แบบ Fully Automatic มีข้อดีตรงที่ใช้ระยะเวลาในการเริ่มปล่อยกระแสไฟฟ้าไปยังผู้ป่วยเองรวดเร็ว ไม่จำเป็นต้องมีผู้ใช้เข้ามาเพื่อกดเริ่มการทำงาน จึงใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก เพียงแค่ เปิดเครื่อง ทำตามคำแนะนำของเครื่อง แปะแผ่นนำไฟฟ้าที่ตัวของผู้ป่วย เมื่อแปะเสร็จห้ามสัมผัสโดนตัวผู้ป่วย เครื่องจะเริ่มทำการวิเคราะห์ผล หากจำเป็นต้องช็อกไฟฟ้า เครื่องก็จะเริ่มช็อกไฟฟ้าทันที หลังจากนั้น เครื่องจะมีระบบแนะนำการทำ CPR ต่อไป เพื่อช่วยผู้ป่วย จนกว่าหน่วยแพทย์ฉุกเฉินจะมาถึงพื้นที่
เครื่อง AED จาก Mindray BeneHeart C Series : SMARTER & FASTER
เครื่อง AED จาก Mindray ที่จัดจำหน่ายโดย DL innovation มีคุณสมบัติตรงตามที่ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เป็นแบบ Fully Automatic ทำงานอัตโนมัติ ใช้งานง่าย ได้ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ โดยเครื่องจะวิเคราะห์และปล่อยกระแสไฟเพื่อไปกระตุกหัวใจของผู้ป่วยเองอัตโนมัติ หลังจากแปะแผ่นนำไฟฟ้าที่ผู้ป่วยตามเสียงคำแนะนำจากครื่องอย่างละเอียด และมีระบบคำแนะนำการทำ CPR ให้แก่ผู้ใช้งานทุกขั้นตอน ช่วยเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากขึ้นด้วย
Mindray BeneHeart รุ่น C2 with screen
มาพร้อมหน้าจอสี แสดงขั้นตอนและวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
Mindray BeneHeart รุ่น C1A without screen
มาพร้อมภาพนิ่งแสดงตำแหน่งการทำ CPR
วิธีใช้งานเครื่อง Mindray C Series แบบ Fully Automatic
การใช้งานเครื่อง AED Mindrya BeneHeart C Series แบบ Fully Automatic ใช้งานง่าย เพียง 2 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 เปิดฝาเครื่อง เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ
ขั้นที่ 2 ติดแผ่น electrode บนหน้าอกของผู้ป่วย ตามคำแนะนำจากเครื่อง เครื่องจะทำการวิเคราะห์ และปล่อยกระแสไฟฟ้ากระตุกหัวใจอย่างอัตโนมัติ
รายละเอียดสินค้า
-
Fully Automatic ใช้งานง่าย เครื่องจะทำการกระตุกหัวใจคนไข้เองไม่ต้องกดปุ่ม
-
เปิดฝา เครื่องพร้อมทำงาน
-
มีเสียงอธิบายทุกขั้นตอน
-
ปุ่มเปลี่ยนเสียงได้ถึง 2 ภาษา ไทย อังกฤษ
-
มี Infant key สามารถสลับเปลี่ยนโหมดระหว่างเด็ก และผู้ใหญ่ได้
-
ใช้งานได้ทั้งในผู้ใหญ่ จนถึงเด็กเล็กที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่า 25 กิโลกรัม
-
ติด Adhesive pad ในตำแหน่ง Anterior-posterior เพื่อปรับลดพลังงานที่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็ก
-
มีพลังงานสูงสุด 360 จูล
-
ระบบประมวลผล และวิเคราะห์ รวดเร็ว แม่นยำสูง
-
มีระบบตรวจจับสรีระร่างกาย อัตโนมัติ
-
มีระบบวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ VE, VT ที่ควรทำก่อนการกระตุกหัวใจ
-
Quick shock ระยะเวลาในการ shock ครั้งแรกรวดเร็ว ภายใน 8 วินาที ตั้งแต่เปิดเครื่อง
-
มีระบบแนะนำการทำ CPR
-
การปล่อยพลังงานเป็นแบบ Truncated Exponential Biphasic Waveform โดยใช้ Impedance ของคนไข้เป็นตัวกำหนด สามารถประจุไฟฟ้าแบบอัตโนมัติในเวลา 90 วินาที เมื่อพบความผิดปกติที่ต้องการกระตุก
-
ระบบการทำงานตามมาตรฐาน AHA Guideline
-
มีสัญญาณเตือนหากเครื่องมีปัญหา หรือชำรุด
-
ตัวเครื่องขนาดกะทัดรัด มีที่จับสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก น้ำหนักเบา ไม่เกิน 2.6 กิโลกรัม
-
มีสัญญาณแสดงปริมาตรประจุไฟของแบตเตอรี่ สามารถกระตุกหัวใจได้ไม่น้อยกว่า 300 ครั้ง
-
แผ่น electrode แบบ Non polarized electrode สามารถใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก
-
แผ่น electrode แบบใช้ครั้งเดียวมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 3 ปี
-
รับประกันตัวเครื่อง 8 ปี และแบตเตอรรี่ 4 ปี
อุปกรณ์ที่ได้รับ
-
เครื่อง AED C Series
-
Battery Lithium manganese dioxide สำรอง ชาร์จไม่ได้ จำนวน 1 ก้อน
-
แผ่น electrode พร้อมสาย สำหรับผู้ใหญ่ จำนวน 1 เครื่อง
-
Operating Manual จำนวน 1 เล่ม
-
คู่มือการใช้งานและการบำรุงรักษา ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ จำนวน 1 ชุด
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมที่
Phone number : 095-804-0286
Line OA : @dlinnovation
Facebook : https://www.facebook.com/dlinnovation
IG : dl_innovation